หมอไม้ คือชื่อเรียกของ Mr. Xaver Reider ของชาวคงคา ณ ชุมชนบางใหญ่ มากว่า 5 ปีที่ชาวเยอรมันท่านนี้เป็นที่คุ้นเคยของพวกเรา โดยเฉพาะเวลามีปัญหาเกี่ยวกับไม้ บางทีชาวเยอรมัน ก็มักมีอะไรให้พวกเราได้ทึ่ง! กับความเป็นระเบียบทางด้านความคิดของพวกเขา
ไม้แต่ละชนิด ก็ใช้วิธีควบคุมดูแลในแบบที่แตกต่างไป โชคดีที่โรงงานผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์จีน คงคา เน้นแต่ไม้ประดู่ และไม้ชิงชัน ซึ่งเป็นตระกูลไม้เดียวกัน เราก็เลยมีกฏเกณฑ์จำพวกเดียวที่ต้องจำและปฎิบัติตาม เดิมทีเดียวไม้ที่ส่งเข้าโรงงานมา ต้องผ่านการอบเพื่อเอาน้ำในไม้ออก
Xaver หรือหมอไม้บอกว่า จะต้องใช้เวลา 1 ปีสำหรับไม้ 1 ซม. เพื่อจะให้ไม้ปรับสภาพ ไม่ยืดไม่หด นั่นเท่ากับไม้หนา 8 ซม ใช้เวลาธรรมชาติถึง 8 ปี
ดังนั้นโรงงานที่ทำเฟอร์นิเจอร์หรือโรงงานพื้นไม้ปาร์เก้ ที่มีคุณภาพ จะต้องอบไม้ให้ดีก่อนที่จะเอาไม้มาตัดหรือประกอบ เพราะไม่งั้นมันก็จะหดหรือขยาย เลยต่อที่เชื่อมเอาไว้ก็ห่าง การเข้าลิ่มที่ทำไว้ ก็จะไม่แข็งแรง
ในทางตรงกันข้าม ถ้าอบมากเกินไป มันก็จะแห้งเกินความเป็นจริง พอทิ้งไว้ด้านนอก มันก็จะดูดน้ำจากอากาศเข้า ไม้ก็จะใหญ่ขึ้น รอยต่อก็เบียดเสียดกัน หรือมากไปกว่านั้น ไม้ก็จะแตก
วิธีการอบไม้ที่ถูกต้องนั้นเหมือนกับการเข้าใจการทำอาหาร ต้องรู้จักวัตถุดิบว่าสดไม่สด ใช้ไฟแค่ไหน อาหารถึงจะพอดี
หมอไม้ยังบอกอีกว่า ถ้าเราใช้ความร้อนมากเกินไป น้ำจะไปกระจุกอยู่ด้านในรวมกันเป็นก้อนเพราะน้ำก็จะหนีเข้าไปข้างใน สุดท้ายไม้ก็บวมตอนมาทำเป็นพื้นหรือเป็นหน้าโต๊ะเฟอร์นิเจอร์
การคัดเลือกหน้าไม้ และการตัดไม้ ก็มีศาสตร์ของมัน ที่ผู้เขียนซึ่งโตมากับธุรกิจนี้ รู้สึกตื่นเต้นกับความรู้เหล่านี้ ...ถึงจุดนี้ผู้อ่านคงสนใจว่าชายผู้นี้มาทำอะไรที่นี่
หลักปรัชญาชีวิตด้านงานผ่านสายตา “หมอไม้” ชาวเยอรมัน
หมอไม้ของเรามีคุณวุฒิจบจากมหาวิทยาลัย Rosenheim University แผนก woodworking ซึ่งเป็นมหาลัยน้อยแห่งในโลกที่สอนศาสตร์ของไม้แบบลึกซึ้งในโลก และที่เข้าไปเรียนได้คงเพราะประสบการณ์ที่ผูกพันธ์เกี่ยวกับงานไม้มาตั้งแต่คุณปู่ และคุณพ่อ ทางผู้เขียนเคยได้มีโอกาสไปเยี่ยมโรงงานที่เยอรมัน เมือง Ausburg ว่างานไม้ 3 ชั่วคนมันเป็นเช่นไร เห็นแล้วก็ยิ่งทำให้เข้าใจว่า แต่ละศาสตร์เราต้องชอบกับมัน ใส่ใจ จดจ่อกับมัน ความรู้เหล่านั้นจึงจะมีค่า
ตอนที่ผู้เขียนเจอหมอไม้ใหม่ๆ ก็ยังแอบสงสัยว่าการเผยแพร่ความรู้เหล่านี้ มีอะไรซ่อนเงื่อนหรือเปล่า เพราะมันช่างต่างการชาวเอเชียเรา ที่จะหวนแหนความรู้ ไม่ให้ใครเอาไป วันนี้ได้มีโอกาสถามหมอไม้ เค้าตอบว่า
เขาเสียดายความรู้และประสบการณ์ที่เค้าได้มา โดยเฉพาะการเรียนรู้ที่มาจากความผิดพลาดของเขา เขาอยากส่งต่อให้คนที่รักงานเหมือนเขา
ด้วยความสงสัย จึงถามหมอไม้ไปอีกว่า แล้วลูกหลานล่ะ ทำไมไม่สอน แล้วทำไมต้องมาสอนคงคาเฟอร์นิเจอร์ด้วย ผู้เขียนจึงได้ทราบว่าสไตล์การเลี้ยงลูกของเขาคือให้ลูกเลือกเอง ชอบเอง ดูแลตัวเอง พ่อแม่ไม่ได้ไปบังคับ แต่พร้อมสนับสนุนหากเดินเข้ามาปรึกษา เรื่องนี้ผู้เขียนจึงคิดไปเองว่าลูกๆ คงไม่ได้สนใจด้านนี้
ส่วนที่ว่าทำไมต้องที่คงคาเฟอร์นิเจอร์ เขาตอบว่า ก็เพราะว่างานไม้และงานมุกแขนงทางเอเชีย แบบจริงจัง (Asian Uniqueness) แบบนี้หายากแล้ว การใช้มือทั้งหมด (handicraft) งานแบบนี้ในยุโรปแทบจะไม่มี และ เขายังจ้องมาด้วยสายตาที่เป็นมิตรว่า ก็เพราะเขามีความสุขมากกว่าได้เงิน เมื่อได้เจอคนอย่างคุณ อย่างครอบครัวคุณ และอย่าง Mr. ชาญ (พี่ที่โรงงาน) เค้าดีใจ อิ่มเอิบที่มีคนกระหายที่จะฟังประสบการณ์และความรู้ที่เขามีมา หมอไม้เรียกพวกเราว่า ฟองน้ำ คือพร้อมซับความรู้ต่างๆ ที่เขาเต็มใจสอน หมอไม้ยังกล่าวต่อไปว่า เขากลับไปบ้านเกิดเขา และเล่าและให้ดูรูปงานของคงคา เพื่อนๆ เขาก็ชอบกันใหญ่
หมอไม้บอกอีกว่า กุญแจสำคัญของงานทุกสิ่งคือ ความรัก ในงาน ฟังดูแล้วเหมือนได้ยินมาตลอดแต่แล้วนั่นมันคืออะไรกันแน่ ผู้เขียนถามกลับไป หมอไม้ตอบว่า “If you like something, you want to do it from deep inside” (หากคุณชอบอะไร คุณจะอยากได้มันจากความรู้สึกภายในของคุณ)
นอกจาก Mr. Xaver Reider จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไม้และผลงานที่เห็นคือ Paris Airport, Oylmpic Statdium ที่เยอรมันนี และอื่นๆ เค้ายังได้รับเป็นผู้ชนะประจำชาติด้านนักแข่งรถมอเตอร์ไซค์ปี 1990
จะเห็นว่าความทุ่มเท ความรักที่ทางหมอไม้เล่ามา เหมือนหลักพรหมวิหาร 4 ของทางพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นงานใหญ่ งานเล็ก เรารัก จดจ่อ เพียรพยายาม เดี๋ยวผลงานก็จะออกถึงสายตาผู้รับรู้ได้เอง
สุดท้ายนี้ผู้เขียนหวังว่างานเขียนนี้จะเป็นหนึ่งในความขอบคุณจากใจสำหรับบุคคลอย่างหมอไม้ที่สร้างสิ่งดีๆต่อกันในเวลาบนโลกนี้
Thank you, Xaver, our wood doctor
written by Madee L. at KONGKA furniture (www.kongkafurniture.com)