Chinese sense and The World today
กลิ่นอายความเป็นจีน กับ โลก ใน วันนี้
เข้าใกล้ตรุษจีนอีกแล้ว ผู้เขียนเลยอยากมาเขียนถึงเรื่องราวเกี่ยวกับจีน ว่าทำไมโลกถึงให้ความสำคัญกับประเทศมังกรนี้นัก ทั้งด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ และรวมไปถึงด้านวัฒนธรรม?
หลังจากจีนเปิดประเทศ และก้าวสู่การแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างเต็มตัวแล้ว ทั้งโลกให้ความสำคัญกับประเทศนี้มาโดยตลอด ก้าวแรกก็เริ่มจากการตั้งตัวทางโครงสร้างพื้นฐานเปรียบเสมือนเป็นโรงงานของโลก โดยใช้ความได้เปรียบจากจำนวนประชากรที่มีมากที่สุดของโลก (ขนาดนี้นับแค่คนจีนในจีนนะ ยังไม่รวมถึงคนจีนที่อพยพออกมาตามมุมต่างๆทั่วโลก) โรงงานในจีนทั้งหลายต่างผลิตสินค้าเพื่อป้อนให้กับมุมต่างๆในโลกนี้ จะบอกว่าเป็นสินค้าอะไรนั้น เอาเป็นว่าจีนผลิตได้ทุกอย่าง คุณภาพนั้นต้องขึ้นกับว่าการบริหารจัดการภายในบริษัทของแต่ละโรงงานนั้นๆ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบบริษัทจีนที่มีศักยภาพเอง เช่น Lenovo Huawei และ Haier หรือเป็นแบบบริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุนสร้างผลิตภัณฑ์ในจีน แต่ใช้เทคโนโลยีของต่างชาติเข้ามาเสริมและกำกับดูแล เช่น apple inc จากอเมริกา และ โรงงาน Foxxcon ผู้ผลิตiphone ในจีน เศรษฐกิจจีนในช่วงนั้นโตด้วยอัตราที่น่าระทึก พอช่วงหลังๆนี้อัตราการเติบโตไม่ได้เหมือนเมื่อ 8–10 ปีก่อน แต่ก็ยังมีการเติบโตอยู่เรื่อยๆ
พูดถึงเกมส์การเมือง จากประเทศที่รุ่งโรจน์และพังถล่มลงมา แทบจะสู้ใครไม่ได้ เก็บตัวอยู่ วันนี้ก็มายืนอยู่ต่ำแหน่งที่ว่าเป็นหนึ่งในตัวละครเอกในเวทีการเมือง เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของอเมริกา
ประธานาธิบดีคนใหม่สหรัฐฯ Donald Trump หลังจากการหาเสียงเพื่อเน้นเศรษฐกิจภายในประเทศ จะขึ้นกำแพงภาษีสินค้าในจีนเพื่อให้ของจีนที่เข้าอเมริกาแพงขึ้นนั้น ก็ยังไม่ได้ทำอะไรมากนัก เพราะมีหลายเกมส์ที่ซ้อนเกมส์อยู่ ประมาณว่าถ้าคุณทำอันนี้ ฉันก็จะทำอันนี้ สุดท้ายเกมส์การเมืองก็ยังเล่นอะไรมากกับจีนไม่ได้ ได้แต่ถูกประณามว่าเป็น “currency manipulator” (ผู้บิดเบือนค่าเงิน) คงต้องรอดูกันไป แต่ที่แน่ๆ จีนยังเป็นหมากที่ต้องระวังของอเมริกาแน่นอน
กลับมาด้านเศรษฐกิจ จากก้าวแรกที่เป็นเหมือนโรงงานผลิตเน้นแรงงานถูกเป็นส่วนใหญ่ เหล่าคนจีนก็เรียนรู้ พัฒนา ต่อยอด ผลิตภัณฑ์และบริการของตัวเองเช่น alibaba ของแจ๊ค หม่า น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของการต่อยอดจากก้าวแรกๆของจีน ประกอบการสถานภาพทางการเมืองที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากและ ค่าเงินก็เหมือนจะไม่ขยับขึ้นเหมือนประเทศอื่นๆเค้า ( อันนี้ก็สำคัญต่อการส่งออกมากเพราะสินค้าและบริการจีนเมื่อเทียบค่าเงินอื่นๆแล้วก็จะถูกกว่าสินค้าประเทศอื่นๆเสมอมา) คนที่กอบโกยเงินช่วงแรกๆได้ ก็รวยกันไป พวกที่ต่อยอดได้ก็รวยกันเข้าไปอีก ตลาดจีนทั้งตลาดบน ตลาดชนชั้นกลาง และตลาดล่างจึงมาเป็นที่จับตามองของกลุ่ม retailing business ของบริษัทต่างๆทั่วโลก เพราะตลาดจีนมีกำลังซื้อที่สูงมากไปกว่านั้นตลาดจีนเป็นตลาดที่น่าสนใจอยู่เพราะคนจีนมีความรักพวกพ้อง รักเอกลักษณ์วัฒนธรรมตัวเอง รักครอบครัว ยิ่งชาวจีนที่อยู่นอกประเทศจีนแล้วยิ่งมีเอกลักษณ์เหล่านี้มากขึ้น สินค้าและบริการก็จะสะท้อนสิ่งเหล่านี้ เช่นศิลปะของจีน ยกตัวอย่างสินค้าแบรด์หรูอย่างกุ๊ชชี่ (GUCCI) ก็ดึงกลิ่นอายความเป็นจีน (Chinese sense)เข้ามาในคอลเลคชั่นบางกลุ่มขอแบรนด์
บ้านเรือน หรือโรงแรมชั้นนำก็ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีเอกลักษณ์ความเป็นจีนมาเล่นตามมุมต่างๆในบ้านเรือน ในห้องบางห้อง หรือในล๊อบบี้ของโรงแรม
นอกจากกลิ่นอายจีนนี้จะออกมาในแนวผลิตภัณฑ์แล้วนั้น ทางสังคมก็ไม่แพ้กัน เมื่อลูกหลานคนจีนในประเทศจีนและคนจีนโพ้นทะเลในประเทศอื่นๆ ได้รับการศึกษาในซีกโลกตะวันตกการผสมผสานของวัฒนธรรมก็เกิดขึ้นในแบบที่น่าสนใจ มีการแต่งงานข้ามเชื้อชาติกันเอยะ คนต่างชาติก็มาเรียนภาษาจีนกันเยอะมากขึ้น ตัวอย่างชัดๆก็เจ้าของเฟสบุ๊ค มาร์ค ซักเกอร์เบริค์ที่ได้ศรีภรรยาเป็นชาวอเมริกันเชื่อสายจีน และแถมยังพุดจีนกลางได้สำเนียงเกือบเหมือนอีกด้วย ต้องมารอดูกันต่อไปว่ากระแสจีนนั้นจะพัฒนากันไปได้อีกถึงไหน
แต่ที่แน่ๆ วันตรุษจีนนี้ก็เตรียมรับ/แจกซองแดงหรืออั่งเปา พร้อมกับการรวมตัวกันพร้อมหน้าของครอบครัวในมื้ออาหารที่มีอาหารเต็มโต๊ะ
เรื่องนี้ได้รับโอกาสในการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2560