title-our-cultural
HOME OUR CULTURAL FEED The Genius of China

The Genius of China

Posted On January 23,2015

 

ช่วงนี้กระแสวัฒนธรรมจีนมาให้เราเห็นอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น วันตรุษจีน ไหว้ปีชง ตามร้านหนังสือก็มี
หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมืองจีน อยู่มากรวมถึงชีวประวัติของผู้กล้า ผู้คิดหลายท่านที่มาจากจีน ผู้เขียนได้ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “The Genius of China ต้นกำเนิด 100 สิ่งแรกของโลก” เขียนโดย โรเบิร์ต เทมเพิล หนังสือเล่มนี้บอกถึงสิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ที่มีให้เห็นในวันนี้


 

 



 

ล้วนมีรากฐานมาจากจีนโบราณ มีสิ่งประดิษฐ์สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ มีบางสิ่งที่ผู้เขียนเองก็นึกไม่ถึงว่าสิ่งนี้มาจากภูมิปัญญาชาวตะวันออก อาทิเช่น เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว ที่ถูกค้นพบโดย “จางเหิง” สมัยศตวรรษที่ 2โดยใช้หลักเส้นรุ้งและเส้นแวงในแผนที่ภูมิศาสตร์. จากภาพคือแบบจำลองของจางเหิงในปี 132 ลูกบอลสัมฤทธิ์ที่ตกจากปากมังสู่ปากคางคกที่อ้ารออยู่จะทำให้เกิดเสียงดัง เป็นการส่งสัญญาณว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น การดูว่าลูกบอลลูกไหนตกลงมาสามารถบอกได้ว่าศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ทางทิศใด (พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ กรุงลอนดอน)

 
แบบจำลองของจางเหิงในปี 132 ลูกบอลสัมฤทธิ์



หรือไม่ว่าจะเป็น การใช้ฮอร์โมนไทรอยด์ ชาวจีนใช้ฮอร์โมนนี้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 จากการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรโดน “เจินเฉวียน” เพื่อรักษาโรคคอพอกที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ขยายตัวใหญ่ขึ้น ใบสั่งยาของเจินเฉวียนนั้นส่วนใหญ่จะใช้ต่อมไทรอยด์ของสัตว์เช่นแกะและหมู ผ่านกรรมวิธีและให้ผู้ป่วยรับประทาน


 

สิ่งประดิษฐ์สำคัญอีกอย่างคือ พลาสติกชนิดแรกของโลก หรือเราเรียกกันว่าแลคเกอร์จีน และด้วยความบังเอิญจึงได้มีโอกาสคุยกับคุณ มาดี เลิศขจรสุข หนึ่งในกลุ่มผู้บริหารของบริษัท คงคาเฟอร์นิเจอร์มุก เราได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์สิ่งนี้ที่ถูกคิดค้นมาเมื่อ ๑๓๐๐ ปีก่อนคริสตกาล กับกรรมวิธีการผลิตเฟอร์นิเจอร์จีนว่ามีวิธีทำอย่างไรและแลคเกอร์จีนที่ว่านี้คืออะไร แล็คเกอร์จีนเป็นหนึ่งในสสารจากพืชที่ทนทานและน่าทึ่งที่สุดของโลก และมันคือพลาสติกธรรมชาติ แล็คเกอร์แท้ๆ แลคเกอร์จีนมีที่มามาจาก ยางจากลำต้นของต้นรัก (Rhus vernicifera) หรือน้ำเลี้ยงของต้นรัก วิธีที่ได้มาก็เหมือนกับการกรีดน้ำยางพารา

 

ต้นรักนี้เป็นต้นไม้พื้นเมืองของจีน แล็คเกอร์เป็นน้ำมันชักเงาพลาสติกที่มีประสิทธิภาพด้านการรักษาสภาพความแข็งแรง และความคงทนความร้อนไม่เกิน 400–500 องศาฟาเรนไฮต์ได้ ซึ่งนับมาสูงทีเดียว การค้นพบแล็คเกอร์จึงเป็นเรื่องใหญ่ นั้นใช้กับเครื่องใช้ในครัวและเฟอร์นิเจอร์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว เช่นพวกชุดรับประทานอาหารของชาวจีนผู้มั่งคั่งแทนภาชนะสัมฤทธิ์เพราะเครื่องเคลือบแล็กเกอร์เหล่านี้ทนความร้อนจากอาหารได้


 

คุณมาดี เลิศขจรสุข เล่าว่า “ขั้นตอนการทำสีของคงคาเฟอร์นิเจอร์นั้น คงคาใช้ยางรักที่นำเข้าจากประเทศจีน เวลาทาเคลือบเฟอร์นิเจอร์จะเริ่มจากยางรักที่มีคุณภาพต่ำก่อนและจะแก็บแล็คเกอร์ที่ดีที่สุดไว้เคลือบเป็นชั้นสุดท้าย ขั้นตอนการทำจะใช้เวลาถึง 10 วันต่อชิ้นเพื่อพร้อมนำมาส่งลูกค้าหรือให้เห็นตามโชว์รูมของร้านคงคา” มาดียังกล่าวเสริมว่า “ หลังจากงานเฟอร์นิเจอร์ขึ้นแบบเสร็จแล้ว ก็จะผ่านขั้นตอนการขัด การเจีย การอุดเสี้ยนและค่อยนำมาเคลือบยางรักครั้งแรก หลังจากนั้นค่อยนำไปพักในห้องร้อนที่มีไอน้ำ 1 คืน ทำอย่างนี้ ซ้ำไปซ้ำมาหลายๆครั้ง” จากหนังสือเล่มดังกล่าวได้กล่าวไว้ว่าหลังจากนั้นเมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกลา ชาวจีนค้นพบสิ่งสำคัญทางเคมีเกี่ยวกับแล็คเกอร์ พวกเขาพบวิธีการเก็บแลคเกอร์ไม่ให้แข็งตัวจากการระเหยโดยความบังเอิญและสิ่งนั้นคือ ปู! ฟังแล้วเหมือนเป็นเรื่องหลอกเด็กแต่ หลังจากนั้นจึงทราบว่าเนื้อเยื่อของปูยับยั้งการทำงานของ เอ็นไซม์แล็กเคส (Laccase) นี้ทำให้กระบวนการเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นและการก่อตัวของโพลิเมอร์ถูกยับยั้งไปด้วย เป็นการแทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติอย่างรุนแรง เปรียบได้กับการหยุดการแข็งตัวตามธรรมชาติ ซึ่งคงจะถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับนักเล่นแร่แปรธาตุ

 

จากวันนั้นถึงวันนี้ ชาวจีนยังมีอะไรให้พวกเราสนใจอีกมากมาย เหมือนในเนื้อเพลงของสามก็กที่ว่า

 

น้ำแยงซี รี่ไหล ไปบูรพา

คลื่นซัดกวาดพา วีรชน หล่นลับหาย

ถูกผิดแพ้ชนะ วัฏจักร เวียนว่างดาย

สิงขรยังคง ตะวันยังฉาย นานเท่านาน